สัมมนาออนไลน์ หัวข้อ Green Technology เพื่อองค์กรธุรกิจ


2022-03-31 11:37:25

สรุปเนื้อหา สัมมนาออนไลน์ หัวข้อ Green Technology เพื่อองค์กรธุรกิจ

“Skyfrog TMS ; Green Technology for logistics” โดยคุณเมธัช อุดมมหันติสุข กรรมการผู้จัดการ บริษัท สกายฟร็อก จำกัด

“Digital Name Card Green Technology for Corporation” โดยคุณทินกร เหล่าเราวิโรจน์ อดีตนายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย และผู้พัฒนา platform นามบัตรดิจิทัล

วันที่ 16 มีนาคม 2565 เวลา 14:00 - 15:00 น. ทาง https://www.facebook.com/yqrtoday/

บรรยายเรื่อง Skyfrog TMS ; Green Technology for logistics โดยคุณเมธัช อุดมมหันติสุข

Logistics คืออะไร หลายท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคยนะครับ Logistics คือการส่งของจากจุด ไปจุด B ซึ่งมีทั้งการส่งของทางท่าเรือมาเป็นตู้คอนเทนเนอร์ อย่างเราอาจจะให้จีนผลิตของให้แล้วส่งของเข้าตู้คอนเทนเนอร์ ส่งมาทางเรือลงที่แหลมฉบัง จากนั้นก็มีรถลากตู้คอนเทนเนอร์เข้ามาส่งที่คลังสินค้า แล้วเมื่อลูกค้าปลายทางต้องการสินค้าก็ request เข้ามา ก็จะมีรถที่เราเรียกว่า last mile delivery มารับสินค้าไปส่งให้ลูกค้าที่ปลายทาง นี่ก็คือขั้นตอนกระบวนการ logistics ที่เกิดขึ้นในการเคลื่อนย้ายสินค้า

ทำไม Skyfrog ถึงสนใจเรื่องนี้ เนื่องจากข้อมูลที่ว่าต้นทุน Logistics ของประเทศไทยค่อนข้างสูง ในอดีตสูงถึง 15.1% แล้วเราก็ improve มาเรื่อย ๆ จนล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 13.6% หมายความว่าในสินค้าราคา 100 บาทที่เราขาย เป็นต้นทุน logistics ไปแล้ว 13.60 บาท แล้วถ้าเทียบกับประเทศอื่นถือว่าสูงไหม มีข้อมูลว่าใน Asia Pacific = 12.7% ซึ่งเราก็สูงกว่า ยิ่งถ้าเทียบกับอเมริกาเหนือหรือยุโรปเราสูงกว่าเขาค่อนข้างมาก

ลองวิเคราะห์รายละเอียดว่าทำไมเราถึงสูงกว่าเขา เปรียบเทียบของเรา 13.6% กับอเมริกา 8.6% พบว่าครึ่งหนึ่งของ 13.6% เป็นค่าส่งสินค้า อีกมุมหนึ่งก็คือการขนส่งในไทยกับอเมริกาต่างกันตรงไหน อเมริกาขนส่งทางรางค่อนข้างเยอะ ทำให้ต้นทุน logistics ของเขาค่อนข้างถูก ในขณะที่ประเทศไทยเราส่งทางรางน้อยมาก ไม่ถึง 2% เลยนะครับ ส่วนใหญ 80% เราจะส่งทางถนนหรือใช้รถบรรทุก ซึ่งนอกจากก่อให้เกิดคาร์บอนมอน็อกไซด์ที่ทำลายโลกก็ยังส่งผลให้ต้นทุนค่าขนส่งต่อหน่วยสูงด้วย

ผมพบบทความในงานวิจัยของศาสตราจารย์เกรแฮม มหาวิทยาลัยน็อตติ้งแฮม มีเนื้อหาว่า ท่านรู้ไหมว่า UPS driver ไม่ให้คนขับรถเลี้ยวซ้าย ซึ่งถ้าเปรียบเทียบ UPS ในไทยก็คือไปรษณีย์ไทยหรือเคอร์รี่ ซึ่งถ้าแปลบทความนี้เป็นไทยก็คือ คนขับรถของไปรษณีย์ไทยหรือเคอร์รี่ “ห้ามเลี้ยวขวา” เพราะอะไรท่านทราบไหม การที่ UPS ให้คนขับรถแบบนั้น ทำให้เขาสามารถลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคอร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 20,000 ตัน ลดปริมาณเชื้อเพลิงที่ต้องใช้ได้มากกว่า 10 ล้านแกลลอน และสามารถส่งสินค้าได้มากขึ้นกว่า 350,000 ชิ้น นอกจากนั้นยังลดต้นทุนการขนส่งได้มากกว่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

“ขับรถวนซ้ายช่วยประหยัดเงินและเวลา และลดปริมาณ CO2” 

ถ้าเราจะนำเทคโนโลยีมาใช้ improve เรื่อง logistics จะมี 2 core technology หลัก ๆ คือ

  1. Warehouse Management System (WMS) ซึ่งวันนี้เราคงไม่ได้คุยกันเรื่องนี้ กับ
  2. Transportation Management System (TMS) ที่เดี๋ยวเรามาคุยกันว่าจะเอามาทำอย่างไรได้บ้าง


Challenge in Transportation Planning  ในภาพนี้คือลูกค้าของเรารายหนึ่งซึ่งมีคลังสินค้าอยู่แถวนนทบุรี และจุดสีแดง ๆ เหล่านี้คือจุดที่เขาต้องไปส่งสินค้าให้กับลูกค้าภายในวันนี้ order มีประมาณ 105 order และมีรถประมาณ 30 คัน และหลายประเภทด้วยทั้ง 4 ล้อ 6 ล้อ แต่ละคันก็บรรทุกได้ไม่เท่ากัน แต่ละคันมีต้นทุนที่ไม่เท่ากัน ถ้าท่านไม่มีระบบอะไรที่ช่วยวางแผนเลยท่านก็จะจัดแบบ manual โดยใช้ planner ที่มีความเชี่ยวชาญสูงมาช่วยวางแผนให้ท่าน แต่การพึ่งพาคนก็มีข้อจำกัดว่าถ้าบุคคลากรท่านนั้นเกษียณอายุ ลาออก หรืออะไรก็แล้วแต่ การบวนการวางแผนก็จะมีปัญหา หรือคนเดิมนี่แหละที่วางแผนแต่เรามั่นใจได้อย่างไรว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด จึงเป็นที่มาที่ไปว่าทำไม Skyfrog จึงพัฒนา solution ขึ้นมา

จากตัวอย่างภาพนี้ ระบบเราแนะนำเลยว่าต้องจัดรถแบบนี้ครับ คันหนึ่งวิ่งเก็บโซนกาญจนบุรี อีกคันหนึ่งวิ่งเก็บโซนกรุงเทพฯ ชั้นใน คันหนึ่งวิ่งเก็บโซนบางนา ซึ่งก็จะเชื่อมโยงกับบทความเมื่อครู่ เพราะระบบของเราออกแบบให้รถวิ่งวนทางซ้าย เนื่องจากการวิ่งวนทางซ้ายจะช่วยให้ท่านประหยัดพลังงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากที่สุด เราจะทราบได้ว่ารถแต่ละคันวิ่งกี่ กม. ระยะเวลาเท่าไร ของที่ขึ้นรถไป utilization ของรถกี่เปอร์เซนต์ โดยใช้ระบบวางแผนให้ทั้งหมด คนไม่ต้องคิดเองเลย แค่ review แล้วนำไป execute ต่อ

TMS ก็มีหลากหลาย ผู้นำด้านนี้ก็มี SAP, JBA, Oracle ที่ provide solution พวกนี้อยู่ แต่ปัญหาคือราคาสูงมาก บาง project ราคา 30 - 40 ล้านบาท เราก็เลยคิดว่าเราน่าจะทำ solution นี้ขึ้นมาในราคาที่ย่อมเยาเข้าถึงได้ บริษัท Skyfrog ก็เลยถูกก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2006 ณ ปัจจุบันเราอยู่ในกลุ่มบริษัท EA ที่ listed อยู่ในตลาด SET50 ซึ่ง EA เป็นบริษัทใหญ่มาก market cap 3.5 แสนล้านบาท Mission หลักของ Skyfrog คือพัฒนา TMS software เป็นลิขสิทธิ์ของเราเอง เป็นของคนไทย ปัจจุบันมีลูกค้ามากกว่า 100 องค์กรทั้งในและต่างประเทศ และมีจำนวน user เกือบๆ 5,000 user ในปัจจุบัน

ผมขอแนะนำคร่าว ๆ เกี่ยวกับระบบ Skyfrog นะครับ เริ่มจากระบบ Interface ที่จะเชื่อมกับระบบ ERP ของท่านเพื่อดึงข้อมูลเรื่อง delivery order เข้ามาในระบบ หลังจากนั้นระบบ Skyfrog VRP หรือ Vehicles Route Planning จะช่วยท่านจัดเส้นทางวางแผนรถอัตโนมัติ หลังจากนั้นจะส่งต่อไปที่ Skyfrog Mobile ซึ่งเป็น Mobile app บนมือถือเพื่อสั่งงานคนขับรถว่าวันนี้แต่ละท่านต้องไปส่งสินค้าที่ใดบ้าง ลำดับการจัดส่งเป็นอย่างไร คนขับรถสามารถใช้ Skyfrog Mobile นำทางไปยังจุดหมายปลายทางได้ รวมถึงบันทึกข้อมูลการจัดส่งสินค้า อีกส่วนหนึ่งคือ Skyfrog GPS Tracking ที่ติดตามตำแหน่งของรถแบบ realtime ส่วนสุดท้ายคือ Skyfrog Business Intelligence จะนำข้อมูลต่าง ๆ ในระบบมาประมวลผลในรูปแบบ dashboard หรือ report ต่าง ๆ ซึ่งช่วยให้ท่านวิเคราะห์สถานการณ์ในการจัดส่งของท่านได้ และพยากรณ์ผลลัพธ์ในอนาคตได้ ถ้าท่านอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ Skyfrog Youtube Channel นะครับ

สรุปข้อดีของ TMS ก็คือจะช่วยให้การทำงาน optimized มากขึ้น ลดต้นทุน รักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นเครื่องมือนำทางให้คนขับให้สามารถไปส่งสินค้าได้ถูกต้องถึงแม้ไม่รู้จักเส้นทาง ไม่ต้องขับวน ประสิทธิภาพก็สูงขึ้น มี notification เมื่อส่งสินค้าเสร็จ ลูกค้าก็ happy มากขึ้น

“TMS ช่วย optimize workflow ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ และทำให้ลูกค้า happy”

ผมมี case study มาแชร์ เป็นเรื่องของลูกค้าที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการส่งอาหารสดให้โรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหารต่าง ๆ โดยที่ในแต่ละวันจะมีประมาณ 4,000 order เคยใช้รถขนส่ง 40 คัน แต่พอใช้ระบบ TMS ของเราพบว่าที่จริงแล้วใช้รถเพียง 35 คันก็พอ ลูกค้าสามารถตัดค่าใช้จ่ายในการผ่อนรถ 5 คัน รวมถึงค่าน้ำมัน ค่าบำรุงรักษา เงินเดือนพนักงาน และอื่น ๆ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายไปได้ถึงเดือนละเกือบ 200,000 บาท สามารถถึงจุดคุ้มทุนในระยะเวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้น

และอีก case study ที่เป็น CSR ที่เราทำร่วมกับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ในช่วง COVID-19 ระบาดหนัก ๆ โรงพยาบาลไม่มีเตียงสำหรับผู้ป่วย ๆ ต้องรักษาตัวอยู่ที่บ้าน ทาง Skyfrog ก็ได้เข้าไปช่วยในการวางแผนการจัดส่งอาหารและยาจากโรงพยาบาลถึงบ้านผู้ป่วยจำนวนถึง 800 คนต่อวัน ซึ่งในแต่ละวันจะมีผู้ป่วยเก่าที่ไม่ต้องส่งอาหารและยาให้แล้ว และผู้ป่วยใหม่ที่เข้ามาทุกวัน ข้อมูล dynamic มาก ลองคิดดูนะครับว่าถ้าไม่มีระบบเข้ามาช่วยจะยุ่งยากขนาดไหน

Q : End user สามารถติดตามสถานะการจัดส่งสินค้าได้ไหม

A : ได้ครับ เรามีฟังก์ชันให้ user login เข้ามาดูสถานะการจัดส่งได้ด้วย ทำได้ทั้งเข้ามาดูทีละ order ในกรณี B2C หรือดูได้ครั้งละหลาย ๆ order ในกรณี B2B ก็ได้

บรรยายเรื่อง Digital Name Card Green Technology for Corporation โดยคุณทินกร เหล่าเราวิโรจน์

เรื่อง Green Technology - Digital Name Card ก็เป็น solution หนึ่งซึ่งอาจจะเป็น solution เล็ก ๆ ง่าย ๆ แต่อาจจะใช้ได้กับหลายองค์กรหรือทุกองค์กรเลยก็ว่าได้ ซึ่งผมจะเล่าให้ฟังว่ามันคืออะไร

อันดับแรกพูดถึงวัตถุประสงค์ก่อน เรื่องของการช่วยลด Carbon Footprint ที่ผ่านมาเราได้ present กับหลาย ๆ องค์กร ถ้าเป็นองค์กรต่างประเทศ พูดเรื่องนี้ทีไร เรียกว่าแทบจะปิดการขายตั้งแต่ก่อนจะขายด้วยซ้ำไป องค์กรต่างประเทศจะให้น้ำหนักเรื่องนี้มาก เขียนไว้ใน Vision Mission เลยว่าจะต้องทำเรื่องนี้ และพยายามมองหา solution ที่เป็นดิจิทัลต่าง ๆ ที่จะเข้ามาช่วยลด Carbopn Footprint 

“เราอยากให้องค์กรของไทยให้ความสำคัญเรื่อง Carbon Footprint มากขึ้นด้วย เพราะว่ามันมีผลกับสิ่งแวดล้อม มันมีผลกับรุ่นลูกรุ่นหลานของพวกเราทุกคน”

ลองดูข้อมูลสถิติง่าย ๆ ของคนไทยพบว่าเราใช้กระดาษ 12,000 แผ่น/คน/ปี ขนาด A4 นะครับ คือเราก็ใช้ทุกอย่างล่ะ ใช้ห่ออาหาร ใช้ทำวัสดุต่าง ๆ ใช้เขียน ใช้วาด ใช้เซ็น เราน่าจะทำบางอย่าง เปลี่ยนจากการใช้กระดาษ เพื่อลดการตัดไม้ทำลายป่า ลดการใช้ทรัพยากรลงได้ เพราะเรามีโมบายล์ที่ทุกคนมีอยู่แล้ว การเข้าถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ มันทำได้อย่างไรล่ะ ก็เอาแอพมาใช้แทนสิ่งต่าง ๆ ที่คิดว่าเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากร

ทางบริษัท นายเน็ต ที่ผมเป็นผู้บริหารอยู่มองเห็นโอกาสอันหนึ่งเรื่องแพลตฟอร์มนามบัตรดิจิทัลให้องค์กรต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ ซึ่งมองเผิน ๆ มันก็คือนามบัตร แทนที่จะเป็นนามบัตรกระดาษก็เป็นนามบัตรที่อยู่บนมือถือ แล้วเวลาเราจะแจกนามบัตรก็ไม่ต้องแจกนามบัตรกระดาษแล้ว เราแค่ยื่นมือถือที่มี QR Code อยู่ ผู้รับสามารถสแกน QR Code แล้วก็ได้ข้อมูลทุกอย่างครบ และจริง ๆ เป็นข้อมูลที่ครบกว่าบนกระดาษด้วย เพราะบนกระดาษกดลิงค์ไม่ได้ มันไม่ใช่ดิจิทัล มันเป็นอนาล็อก เราได้กระดาษมาเราก็ต้องเก็บ เวลาจะใช้ก็ต้องหาอีก บางทีคีย์ไม่ถูก คีย์ไม่ครบ แต่พอเป็นแอพมันก็จะเป็นลิงค์เลย สามารถจะกดไปได้ ไม่ว่าจะเป็นไลน์ เฟซบุค อีเมล์ เบอร์โทรศัพท์ บางองค์กรก็ใส่ Linkedin account, WhatsApp มันเป็นการเปลี่ยนจากการใช้กระดาษเป็นใช้แอพนามบัตรดิจิทัลแทน

นอกจากนี้ยังเป็นระบบการจัดการข้อมูลนามบัตรพนักงาน เราพบว่าองค์กรโดยเฉพาะขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่มีพนักงานหลักร้อย หลักพัน แค่เรื่องนามบัตรที่เป็นเรื่องเล็ก ๆ ภายในองค์กร แต่มันก็เป็นเรื่องปวดหัวและต้องมีเจ้าหน้าที่ประจำที่ต้องคอยดูแลเฉพาะเรื่องนามบัตรนี้ว่า มีพนักงานใหม่มา มีคนเปลี่ยนตำแหน่ง เปลี่ยนเบอร์มือถือ ทุกอย่างนี่คือต้องพิมพ์นามบัตรใหม่หมด แล้วนามบัตรเก่าไปไหน ก็ทิ้งถูกใช่ไหมครับ แล้วเวลาเราเปลี่ยนข้อมูลในนามบัตรดิจิทัล ลูกค้าที่เราเคยแลกนามบัตรด้วยแอพ YourQR ไว้ เขาจะได้ข้อมูลใหม่ทันที เปลี่ยนเบอร์มือถือก็ไม่ต้อง SMS บอกแล้ว ไม่จำเป็นเลยเพราะมันเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นดิจิทัลทันที ตัวองค์กรเองก็สามารถเรียกดูข้อมูลลูกค้า เวลาส่งเซลส์ไปพบลูกค้าหรือไปออกงานแฟร์ต่าง ๆ ทุกครั้งที่เซลส์แลกนามบัตร ข้อมูลจะไหลกลับมาที่องค์กรด้วย ก็เอาไปใช้ประโยชน์ต่อได้

ฟังดูก็ดีนะนามบัตรดิจิทัล แล้วถ้าเราไปเจอคนที่ไม่มีแอพเหมือนเราล่ะ จะเป็นอย่างไร ทาง บ.นายเน็ตได้ออกแบบแอพ YourQR ไว้แล้วว่าถึงแม้คุณไปเจอใครที่เขาไม่ได้ใช้แอพเหมือนคุณ เขาก็ยังสามารถแลกข้อมูลกับคุณได้ ยังสามารถเก็บข้อมูลนามบัตรของคุณบนมือถือของเขาได้ ดังนั้นไม่ต้องกลัวว่าไปเจอใคร ตอนนี้เรามี user อยู่ประมาณ 30,000 คนแล้ว ทุกคนก็ใช้กันอย่างสนุกสนาน เราเห็น activity ของลูกค้า เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรม เราเชื่อว่ายิ่งช่วงโควิดที่ผ่านมาทำให้คนสนใจที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมมากขึ้น และมันเปิดกว้างใช้กับแอพอะไรก็ได้

แล้วถ้าไปเจอนามบัตรกระดาษล่ะ จะทำอย่างไร ก็ไม่ยากครับ ใช้แอพ YourQR ส่องนามบัตรกระดาษแล้วมันจะแปลงรูปกระดาษนามบัตรเป็นข้อมูลดิจิทัลเข้ามาอยู่ในแอพให้เราสามารถติดต่อได้เลย เรียกว่าสะดวก รวดเร็ว และ practical ในการทำงาน

มีอีกส่วนหนึ่งในหัวข้อ Green Technology ที่ผมอยากจะพูดถึงคือ Customer Data Platform ตอนนี้จะเห็นว่าองค์กรต่าง ๆ ยุ่งเกี่ยวกับข้อมูลลูกค้าหรือคนที่มีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรจำนวนมาก ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ ออนไลน์ก็อย่างเช่นคนที่เข้ามาดูเว็บไซต์ ดูเฟซบุค หรือออฟไลน์ก็คือเราไปเจอกันตัวต่อตัว แลกนามบัตรไว้ ทำอย่างไรให้ข้อมูลเหล่านี้กลับมารวม บางคนบอกว่าก็รวมอยู่แล้ว ในองค์กรมีพนักงานไปแลกนามบัตรมาก็กลับมารวมอยู่แล้ว บางองค์กรบอกมี CRM เอามาป้อนเข้าระบบอยู่แล้ว ถามจริง ๆ มั่นใจไหมว่าเขาป้อน เรามีโอกาสได้คุยกับหลาย ๆ องค์กรพบว่าโดยหลักการบริษัทบอกว่าคุณต้องเอาข้อมูลมาป้อนเข้าในระบบ เข้าส่วนกลาง บางองค์กรมีระบบอยู่แล้วก็ดี แต่ปัญหาที่พบส่วนมากคือเซลส์ไม่ยอมเอาข้อมูลมากรอก อาจจะอ้างว่าไม่สะดวก ยังต้องเดินทางไปพบลกค้ารายหนึ่งแล้วต้องไปพบรายถัดไป สุดท้ายแล้วองค์กรก็ไม่ได้ข้อมูล เวลาเซลส์ลาออกไปเขาก็เอาข้อมูล เอานามบัตรของลูกค้าไปด้วย องค์กรก็ไม่ได้ข้อมูลตรงนี้

ทำอย่างไรให้ Customer Data Platform เป็นแพลตฟอร์มที่จะเก็บข้อมูล รวบรวมข้อมูลลูกค้าทั้งออนไลน์และออฟไลน์ และต้องสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ ลูกค้ารายนี้เราเคยเปิด account หรือเจอกับเขาเมื่อไร มีพนักงานคนไหนของเราไปพบกับเขาบ้าง ในระดับไหน เราก็สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ต่อได้ อาจจะแจ้งข่าวแก่ลูกค้าหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ถึงแม้ว่าข้อมูลนั้นจะเป็นข้อมูลออฟไลน์ นามบัตรกระดาษ เราใช้แอพเราส่อง ข้อมูลที่เกิดขึ้นนี้จะอยู่ทั้งในแอพของพนักงานที่เป็นคนไป acquire ข้อมูลจากลูกค้า และอยู่ในแพลตฟอร์มกลางให้องค์กรสามารถเข้าถึงได้

“เราช่วยเป็น Green Technology ไม่ใช่เฉพาะตัวเราเองที่ประหยัดกระดาษ เรายังประหยัดกระดาษให้กับลูกค้าของเรา”

ก็เป็น step ที่เปลี่ยนพฤติกรรม เราอยากเห็นพฤติกรรมแบบนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ จะได้เห็น Green Technology มากขึ้นเรื่อย ๆ

มี use case อีกนิดหน่อยที่อยากจะแชร์ครับ เรื่องแรกคือการจัดการทีมเซลส์ เวลาที่เซลส์ไปพบลูกค้า ตั้งแต่การสร้าง First impression เพราะเวลาเซลส์พบลูกค้าก็ต้องใส่หน้ากากเพื่อป้องกัน แต่สุดท้ายก็ขอแลกนามบัตรเกิดการสัมผัสจนได้ แล้วในบางองค์กรก็คาดหวังว่าบริษัทที่จะมามีปฏิสัมพันธ์กับเขาจะต้องมี policy บางอย่างในเรื่องของการทำงานแบบ contactless ซึ่งการสแกนนามบัตรดิจิทัลก็ช่วยตรงนี้ได้ และเมื่อมีการสแกนนามบัตรข้อมูลก็จะไหลไปที่ตัวองค์กร เห็นทันทีเลยว่าเซลส์ไปพบลูกค้าวันนี้ ลูกค้าชื่ออะไร ตำแหน่งอะไร ข้อมูลติดต่ออะไร ได้ข้อมูลกลับไปที่หลังบ้านทันที และจากเคสของลูกค้าของเราที่เขากังวลคือเมื่อเซลส์ลาออกไป แล้วเอาข้อมูลของลูกค้าไปเพราะนามบัตรก็อยู่กับเซลส์อยู่แล้วก็ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ที่แย่คือเซลส์ไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรไว้กับองค์กร ดังนั้นองค์กรก็จะพบความลำบาก เวลาเซลส์ลาออก เอาง่าย ๆ จะ assign ลูกค้าให้เซลส์คนใหม่ก็ลำบากแล้ว แต่ถ้าใช้ solution ที่ผมพูดไปคือ Customer Data Platform ก็สามารถจะเรียกข้อมูลได้ว่าเซลส์คนที่ลาออกไปแล้วเคยแลกนามบัตรใครไว้บ้าง เมื่อไร ที่ไหน ตำแหน่งอะไร ช่องทางติดต่อทางไหน เราก็สามารถดึงข้อมูลแล้วก็ assign ให้กับเซลส์คนใหม่ได้ทันที บริษัทสามารถทำงานได้ง่ายขึ้นในการจัดการทีมเซลส์

อีก case หนึ่งเรื่องการออกงานแฟร์ ถึงตอนนี้เราจะไม่ค่อยได้ออกงานแฟร์กันสักเท่าไหร่ แต่ผมเชื่อว่าเมื่อสถานการณ์ดีขึ้นแล้วก็จะกลับไปออกงานแฟร์กันมากขึ้น ลองนึกภาพว่าเวลาเราออกงานแฟร์ปัญหาที่เราเจอมาก ๆ คืออะไร ปัญหาคือทีม marketing ต้องรวบรวมนามบัตรที่เป็นกระดาษ แล้วก็มานั่งคีย์ลง Excel แล้วก็เก็บรวบรวมข้อมูล manual entry เข้าระบบ ข้อมูลบางทีก็กระจัดกระจาย หายไปบ้าง ไม่ครบบ้าง หรือบางองค์กรได้ข้อมูลลูกค้ามาแต่ไม่เอาไปใช้ ซึ่งจริง ๆ มันเป็น touch point ที่ลูกค้ากับเราได้เจอกัน มันเป็นโอกาสทางการขาย น่าจะเอาข้อมูลไปใช้ประโยชน์ ด้วย YourQR ทุกครั้งที่มีการแลกนามบัตร การสแกน พอหลังงานเราสามารถส่งอีเมล์ถึงลูกค้าเพื่อขอบคุณได้เลย เรียกว่าเริ่มติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้เลยทุกช่องทาง มันเป็นเทคโนโลยีง่าย ๆ เล็ก ๆ ที่แทรกซึมไปกับทุกการทำงานขององค์กรต่าง ๆ

ทุก ๆ ครั้งที่ YourQR จัดสัมมนาซึ่งจะจัดเป็นประจำทุกเดือน เราก็จะเชิญพาร์ทเนอร์อย่างวันนี้ Skyfrog ก็ให้เกียรติมาร่วมกับเรา ทุกครั้งเราก็จะประกาศข่าวว่าแต่ละเดือนจะมีอัพเดทอะไรบ้าง สำหรับเดือนนี้เราจะประกาศว่าเราจะเปิดในเรื่องของการ export ข้อมูลเข้าสู่ CRM ให้ฟรี ซึ่งในที่นี้อาจมีลูกค้าเราบางรายที่ใช้งานอยู่แล้วเคยสอบถามเรื่องนี้มา หลังงานก็เชิญติดต่อกับทีมงานของ YourQR ได้เลยครับ เราเข้าใจดีว่า CRM จะเป็นระบบหลักของหลาย ๆ องค์กรที่เก็บข้อมูลลูกค้าเอาไปใช้ประโยชน์ต่อ มีช่องทางการสื่อสารหลาย ๆ ช่องทาง ซึ่งเป็นระบบที่ดีอยู่แล้ว แต่ว่าบางทีอาจจะขาดอยู่แค่นิดเดียวเท่านั้นเอง ขาดข้อมูลที่ได้มาจากนามบัตรที่ตัว YourQR จะเข้ามาเสริมได้ เราก็จะเปิดเรื่องการ export ข้อมูลให้กับ CRM ครับ ไม่ว่าคุณจะใช้อะไร SOHO, Sales Force หรือว่าจะเป็น CRM ของไทยเจ้าไหน ติดต่อมาได้เลยนะครับ เราทำตรงนี้ให้ฟรี

Q : ด้วยระบบที่สามารถดูข้อมูลต่าง ๆ หลังบ้านได้ ถ้าผมมีเซลส์หลายคน ผมสามารถดูได้ไหมว่าเซลส์คนไหนแจกนามบัตรเยอะที่สุด กี่ครั้ง

A : มันขึ้นเลยครับว่าวันนี้ใครแจกมากที่สุด ทั้งแจกทั้งรับ มันจะมีหน้าแดชบอร์ดที่ดูง่าย ๆ และหน้า report ระบบจะเช็คว่านามบัตรถูกสแกนกี่ครั้ง ถูกสแกน 1 ครั้งคือการแจกนามบัตร 1 ครั้ง แต่ถ้าผู้สแกนไม่ได้ใช้แอพ YourQR เราจะรู้แค่จำนวน แต่ถ้า YourQR สแกน YourQR เราสามารถรู้ได้เลยว่าคนที่สแกนคือใคร

Q : นามบัตรดิจิทัลจะแจ้งลูกค้าไหม หากพนักงานของบริษัทลาออกไป

A : ต้องบอกแบบนี้ครับ เวลาพนักงานทำงานให้บริษัทเรา นามบัตรของเขาก็จะเป็นธีมของบริษัทเรา ใช้โลโก้ของบริษัทเรา พอเขาไปแลกนามบัตรกับใครลูกค้าก็จะเห็นธีมนี้ เมื่อพนักงานคนนี้ลาออก เราก็บันทึกในระบบว่าพนักงานคนนี้ไม่ได้เป็นพนักงานของเราแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นคือแอพบนมือถือของพนักงานคนนั้นจะไม่ขึ้นธีมขององค์กรเราแล้ว จะไม่มีโลโก้บริษัทบนนามบัตร หลังจากนั้นถ้าเขาจะแลกนามบัตรกับใครก็เป็นในนามส่วนตัว จะไม่เกี่ยวกับเรา แต่ข้อมูลขณะที่เขายังอยู่กับเราจะยังอยู่ที่องค์กร ๆ สามารถเอาไปใช้ประโยชน์ เอาไป assign ให้กับพนักงานคนใหม่ได้ ณ ปัจจุบันยังเป็นแค่นี้นะครับ ในอนาคตอาจจะมีเรื่องของการแจ้งลูกค้าว่าพนักงานคนนี้ลาออกแล้ว เพราะเรามีลูกค้าถามเข้ามาเหมือนกัน ไว้จะอัพเดทให้ทราบเรื่อย ๆ ครับ

สุดท้าย เราเชื่อว่านี่เป็นเทคโนโลยีเล็ก ๆ ที่เข้าถึงได้ทุกองค์กรทั้งขนาดเล็กและใหญ่ และเราให้น้ำหนักกับเรื่องเล็ก ๆ ครับ รายละเอียดปลีกย่อย ไม่ใช่แค่เป็นนามบัตรดิจิทัลที่แลกกันได้แล้วก็จบ แต่เราแคร์ในเรื่องรายละเอียดว่าแลกกันแล้วจะเป็นอย่างไร คนรับไม่ใช้ YourQR ได้ไหม ทำอะไรได้บ้าง อย่างเช่นเรื่องการแจ้งลูกค้าเมื่อพนักงานลาออกที่พูดถึงเมื่อสักครู่ เราก็คิดว่าเราจะทำอะไรให้ดีขึ้นได้อีก เราใส่ใจตรงนี้ เราเชื่อว่าใน long term พฤติกรรมคนจะลดการใช้กระดาษ เปลี่ยนมาเป็นนามบัตรดิจิทัล เปลี่ยนมาเป็น Customer Data Platform มากขึ้น เพราะว่ามันสะดวกรวสดเร็ว รักษ์โลก ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการพิมพ์นามบัตรกระดาษ และการเปลี่ยนข้อมูลก็ไม่เสียอะไรเลย ทำได้ทันที

Q : ข้อมูลที่ได้จากระบบสามารถบันทึกเข้าระบบ CRM โดยที่เซลส์ไม่ต้องมานั่งคีย์ข้อมูลได้เลยใช่หรือไม่

A : เดิมเรายังไม่มีฟีเจอร์ที่จะ export ไป CRM แต่เราพบว่าลูกค้าของเราให้ความสำคัญกับ CRM เราจึงทำฟีเจอร์ที่จะ export ข้อมูลให้ทาง CRM เอาไปใช้งานต่อได้เลย

ขอฝากทุกองค์กรเรื่อง Green Technology เรามาเริ่มจากอะไรง่าย ๆ ก่อน เทคโนโลยีของคนไทยมีอีกเยอะแยะมากมายที่จะช่วยเรื่อง Green Technology ลองมองหา ศึกษา แล้วนำมาใช้ ประโยชน์ของมันไม่ใช่แค่เรื่อง Green Technology หรือภาพลักษณ์ แต่มันมีผลลัพธ์ ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพ empower คนทำงาน ผมเชื่อว่าถ้าเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ประเทศเราก็จะเข้มแข็งขึ้น หลังยุคโควิดก็จะกลับมาอย่างก้าวกระโดด ไม่ใช่ทำทุกอย่างเหมือนเดิม แล้วก็หวังว่าทุกอย่างจะกลับมาดีเหมือนเดิมหลังโควิด

“เราต้องเริ่มเปลี่ยนที่ตัวเราก่อนถึงจะเห็นผลลัพธ์ที่จะตามมมา”

บริษัท นายเน็ต จำกัด

47/17 ถนนเสนานิคม 1 แขวงลาดพร้าว

เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230


โทรศัพท์ 083-084-1771

อีเมล์ contact@9net.co.th

Copyright ® 2023 9net.co.th