สัมมนาหัวข้อ “พลิกฟื้นธุรกิจด้วยเทคโนโลยีแบบบ้าน ๆ” และ “สู้สงครามธุรกิจใช้ Data เป็นอาวุธ”


2022-02-15 14:16:10

โดย คุณทินกร เหล่าเราวิโรจน์ อดีตนายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย และผู้พัฒนา platform นามบัตรดิจิทัล และอ.บุ้ง ดีดติ่งหู (วิชาวุธ จริงจิตร) กูรูผู้พลิกวิกฤติให้คนทำธุรกิจ

วันที่ 20 มกราคม 2565 เวลา 14:00 - 15:00 น. ชมย้อนหลังได้ทาง https://www.facebook.com/yqrtoday/


ในช่วง COVID-19 ที่ผ่านมามีผลกระทบต่อธุรกิจและชีวิตส่วนตัวมากมาย วิทยากรได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือธุรกิจหลายประเภท ยกตัวอย่าง

  1. ประเภทที่ไม่ว่าจะเจอปัญหา COVID-19 หรือวิกฤตการณ์อื่น ก็ไม่ได้มียอดขายที่ลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก คือสินค้าประเภท FMCG (Fast Moving Consumer Goods) สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป

  2. ประเภทสินค้าที่เติบโต เช่น

    1. ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง เป็นเพราะคนอยู่บ้านกันเยอะเลยมีการต่อเติมบ้าน ซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่ ในตัววัสดุก่อสร้างเองก็จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม (1) งานโครงสร้าง ที่เป็นโครงสร้างใหญ่ ๆ มีความเป็นไปได้ที่จะติดปัญหานิดหน่อย (2) งานตกแต่งต่อเติม ธุรกิจส่วนนี้โตขึ้น และร้านวัสดุก่อสร้างก็ทำกำไรจากส่วนนี้มากกว่ากลุ่มแรกด้วย 

    2. ธุรกิจ Packaging ที่มีผลมาจากการซื้อขายออนไลน์ หรือทำขนม เบเกอรี่อยู่ที่บ้าน ทำให้บางบริษัทถึงขั้นผลิตสินค้าไม่ทันก็มี

    3. ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง เพราะคนอยู่บ้านมากขึ้นก็หาสัตว์มาเลี้ยงเพิ่ม

แสดงให้เห็นว่า “ยังมีโอกาสซ่อนอยู่ในวิกฤติ” เพราะถึงแม้ว่าเราไม่ได้เดินทางไปทำงานที่ออฟฟิศเหมือนเดิมการใช้ชีวิตและทำกิจกรรมต่าง ๆ อยู่ที่บ้านก็สร้างโอกาสทางธุรกิจเหมือนกัน


บรรยายเรื่อง “พลิกฟื้นธุรกิจด้วยเทคโนโลยีแบบบ้าน ๆ” โดย อ.บุ้ง ดีดติ่งหู

อ้างอิงจากหนังสือ Marketing 5.0: Technology for Humanity โดย P Kotler

ทฤษฎีเรื่องการตลาด ได้ถูกแบ่งออกเป็น 5 ยุค

  • ยุค 1.0: 4P - Product, Price, Place, Promotion เป็นการมองจากอัตตาหรือ Ego ของตัวเองเป็นหลัก (Product Centric) ว่าเราต้องการขายอะไร ราคาเท่าไหร่ ขายที่ไหน มีโปรโมชั่นอะไร เป็นทฤษฎีที่เกิดมาตั้งแต่สมัยหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมอังกฤษ

  • ยุค 2.0: 4C - เป็นการปรับจากยุค 1.0 โดยมองจากลูกค้าเป็นหลัก ใช้การแทนที่ Product ด้วย Consumer needs, แทนที่ Price ด้วย Cost สูงสุดที่ลูกค้าจะรับได้, แทนที่ Place ด้วย Convenient to Buy, แทนที่ Promotion ด้วย Communication

  • ยุค 3.0: Social Media - เริ่มประมาณ 10 กว่าปีที่แล้วที่เริ่มมี Social Media

  • ยุค 4.0: IOT - ยุคแห่งการ transfer ข้อมูลกัน ซึ่งเป็นยุคปัจจุบัน

  • ยุค 5.0: การตลาดในอนาคตจะประกอบด้วย 5 องค์ประกอบคือ

    1. Data-Driven Marketing: ใช้ Big data เพื่อเข้าใจลูกค้าให้มากขึ้น

    2. Agile Marketing: ธุรกิจแบบเดิมต้องเปลี่ยนแปลง สร้างทีมงานเล็ก ๆ ที่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง คิดเอง ทำเอง โตเองได้

    3. Predictive Marketing: ใช้ AI ทำนายอนาคต

    4. Contextual Marketing: นำเทคโนโลยีมาช่วยสร้างประสบการณ์ ใช้เทคโนโลยีทำงานแทนมนุษย์ได้

    5. Augmented Marketing: นำเทคโนโลยีมาผสานโลกเสมือน เช่น VR, Metaverse

สังเกตุกว่าการตลาดยุค 5.0 นั้นมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องเยอะมาก ถึงแม้จะมีไอเดียการตลาดดี ๆ แต่ใช้เทคโนโลยีไม่เป็นก็คงลำบาก


อ.บุ้ง ได้ให้คำนิยามของการตลาดว่า “การตลาดคือการทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้ธุรกิจของเราเติบโตในระยะยาว” ดังนั้นกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ทำอยู่เพื่อเป็นการเพาะบ่มแบรนด์ สินค้าและบริการของเราให้ตอบโจทย์และยั่งยืนในระยะยาว ก็มีคำถามว่าในระยะยาวนั้นเทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ก็เลยเอาความเปลี่ยนแปลงนั้นมาทำตั้งแต่วันนี้


ตัวอย่างเทคโนโลยีแบบบ้าน ๆ - อ.บุ้ง ได้เป็นที่ปรึกษาให้บริษัทแห่งหนึ่งซึ่งมีปัญหาในเรื่องพื้นที่การขายที่ไม่ครอบคลุมทั้งจังหวัด (มีร้านค้าเพียง 3 อำเภอจากทั้งหมด 6 อำเภอ) เนื่องจากไม่คุ้มค่ากับการเดินทางของพนักงานขาย Solution ง่าย ๆ ที่นำมาแก้ปัญหานี้คือบริษัทได้จัดทำเว็บไซต์ในการสั่งสินค้าขึ้นมาใหม่ แล้วให้พนักงานขายเข้าไปแนะนำร้านค้าใน 3 อำเภอที่เหลือว่าต่อไปนี้มีอะไรให้สั่งทางเว็บไซต์ได้เลย แล้วสินค้าจะถูกส่งถึงมือโดย logistics เอกชน ซึ่งทำให้ลูกค้าสะดวกในการสั่งสินค้ามากขึ้น และพนักงานขายก็ลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางลงได้มากเช่นกัน ด้วยการใช้เทคโนโลยีง่าย ๆ อย่าง Line app เพื่อดูแลลูกค้าและหน้าเว็บสำหรับสั่งของเท่านั้น หรือการใช้โปรแกรม Excel ในการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ยอดขายสินค้าแต่ละตัวว่าตัวไหนขายดี ตัวไหนที่ต้องกระตุ้นยอดขาย จัดโปรโมชั่น โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนกับโปรแกรมใหม่


การขายสินค้าออนไลน์เช่นกัน ต้องมีการโฆษณา (Advertising) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการขายของ และการประชาสัมพันธ์ (PR) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีควบคู่กันไป ซึ่งในการลงทุนกับโฆษณาออนไลน์นั้นควรพิจารณาจาก 3 เรื่องคือ ROI: 

R = Relevance ว่าโฆษณานั้นตรงประเด็นหรือไม่ 

O = Originate ว่าโฆษณานั้นแปลกใหม่ ไม่ซ้ำใครหรือไม่

I = Impact ว่าโฆษณานั้นมัน “โดน” มัน “แรง” หรือไม่ 

การทำ PR ก็มีเรื่องที่ต้องพิจารณา 3 เรื่องเช่นกันคือ KAP: 

K = Knowledge ว่าการ PR นั้นเป็นการให้ข้อมูลมากกว่าการขายหรือไม่

A = Attitude ว่าการ PR นั้นทำให้เขาเปลี่ยนทัศนคติได้หรือไม่

P = Practise ว่าการ PR นั้นทำให้เขาเปลี่ยนพฤติกรรมได้หรือไม่ 

ทั้งนี้เราต้องเลือกว่าชิ้นงานที่เราจะลงทุนนั้นเพื่อวัตถุประสงค์ใดกันแน่ Ad หรือ PR

ปัจจุบันถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีของ SMEs เพราะช่องทางการโฆษณาและประชาสัมพันธ์นั้นไม่ต้องใช้เงินลงทุนมาก มีสื่อออนไลน์มากมายที่สามารถเลือกใช้ ขอเพียงแต่มี content ดี ๆ ก็ถือว่าเป็นโชคดีของ SMEs ที่ COVID-19 เกิดในสมัยนี้ไม่ใช่เมื่อ 30 ปีที่แล้วที่ต้องซื้อโฆษณาแพง ๆ


บรรยายเรื่อง "สู้สงครามธุรกิจใช้ Data เป็นอาวุธ" โดยคุณทินกร เหล่าเราวิโรจน์

Data กับร้านอาหาร จากการวิเคราะห์ข้อมูล (Data) ร้านอาหารร้านหนึ่ง ในช่วงที่ผ่านมา พบว่า


  • ปาท่องโก๋ขายดี 
  • ลูกค้าส่วนใหญ่เลือกสั่งอาหารออนไลน์จากร้านที่อยู่ใกล้บ้านด้วยค่าส่งที่ถูกกว่า ร้านอาหารนั้นจึงทำการปรับเปลี่ยน


กลยุทธ์ทางการขาย (Action) ด้วยการ 

  • เปิดร้านให้เช้าขึ้น 
  • เพิ่มเมนูราคาถูก 
  • เพิ่มสาขาใกล้ชุมชน ทำให้ลูกค้าสามารถรับประทานปาท่องโก๋ตอนเช้า จากร้านสาขาที่อยู่ใกล้บ้าน ค่าส่งไม่แพง


การที่ Google เป็นบริษัทที่ใหญ่โตได้ในปัจจุบันก็เพราะ Data, Google ได้เก็บข้อมูลการ search ของคนทั้งโลกและวิเคราะห์ว่าคน ๆ นั้นต้องการอะไร แล้วก็ขายโฆษณาให้บุคคลนั้น นั่นคือทางสร้างรายได้มหาศาลของ Google 

ทุกคนรู้ว่าควรเอา Data มาใช้ แต่ส่วนใหญ่คิดไม่ออกว่าจะเอา Data อะไร มาใช้อย่างไร Customer Data Platform (CDP) จึงเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมาและในปีนี้  ความหมายของ CDP คือการจัดการข้อมูลลูกค้าของเราให้เป็นระบบ ค้นหาได้สะดวก และนำมาใช้ประโยชน์ได้ในเวลาที่ต้องการ


ยกตัวอย่างนามบัตร ซึ่งในสมัยนี้แทบจะเรียกได้ว่าล้าสมัยไปแล้วและได้ถูกแทนที่ด้วย นามบัตรดิจิทัล ก็คือใช้โทรศัพท์มือถือแทนนามบัตร เวลาพบเจอใครก็แลกนามบัตรกันด้วยการสแกน QR code บนมือถือแทน ไม่ต้องสัมผัสกับนามบัตรของใคร ไม่เพียงเท่านั้น การสแกนนามบัตรดิจิทัลยังเป็นการส่งข้อมูลนามบัตรของลูกค้ากลับเข้าไปยังระบบของบริษัทโดยตรงในทันทีอีกด้วย ปัญหาบางอย่างที่พบเจอเช่น พอพนักงานขายลาออก ก็ออกไปพร้อมนามบัตรของลูกค้า ข้อมูลลูกค้าก็หายไปพร้อมกับพนักงานขายด้วย ซึ่งหากว่ากันตามกฎหมายแล้วนามบัตรที่พนักงานของบริษัทได้มาขณะที่ทำงานอยู่นั้นจะถือว่าเป็นสมบัติของบริษัท แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้น และไม่สามารถตามคืนได้ด้วย การมีนามบัตรดิจิทัลจะแก้ปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป หรือการออกงาน Event ที่มีการแลกนามบัตรกันภายในงาน พอจบงาน 80% ของนามบัตรก็จะถูกทิ้งไป ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ และในยุค New Normal เกือบ 100% จะใช้วิธีประชุมออนไลน์ นำเสนองานออนไลน์ แต่เราก็ยังสามารถแลกนามบัตรกับลูกค้าได้ด้วยนามบัตรดิจิทัลด้วยการแชร์ออนไลน์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ จะเห็นว่าแค่เรื่องนามบัตรก็สามารถเก็บ Data ของลูกค้าได้มากแล้ว


ในมุมประโยชน์ของบริษัท ๆ จะสามารถรู้ได้ทันทีว่าพนักงานของเราแจกนามบัตรไปแล้วกี่ครั้ง/วัดความขยันของพนักงานได้ และข้อมูลของลูกค้าที่เก็บไว้นั้นก็สามารถจัดเป็นกลุ่มตามที่ต้องการได้ เมื่อพนักงานคนนั้นลาออก ข้อมูลลูกค้าก็ยังอยู่ สามารถ assign ให้พนักงานคนใหม่ดูแลลูกค้าต่อได้ทันที และยังสามารถต่อยอดทำ CRM และอื่น ๆ ได้อีกมาก


นามบัตรดิจิทัล YourQR เป็น app ที่เปิดให้ใช้ ฟรี! แล้วคุณจะทำให้ผู้รับทึ่งในความทันสมัย สามารถให้ข้อมูลของคุณแก่ผู้รับได้ทั้งหมดในคลิกเดียว ไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทรศัพท์ Line, Facebook  หรือจะเป็น link ที่นำไปสู่ข้อมูลอื่น ๆ เช่นประวัติการฉีดวัคซีน ฯลฯ ก็สามารถ upgrade ได้


Q&A

    Q: ธุรกิจโดนผลกระทบจากโควิด อ.มีคำแนะนำเรื่องการตลาดยังไงบ้างครับ

    A: ใช้หลัก Underdog Marketing ครับเริ่มจาก 

  • Dog’s Heart การตั้งหลักสู้ด้วยหัวใจที่ไม่ยอมแพ้ 
  • Dog’s Head คิดแบบ Keep it simple and stupid ไม่ต้องคิดอะไรหรูหรา เริ่มจากสิ่งที่เรามีอยู่ 
  • Dog’s Leg คือ Be Active not Passive ถ้าลูกค้าไม่มาหาเรา ๆ ก็ไปหาลูกค้า 
  • Dog’s Belly ใช้ทรัพยากรที่เรามีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพ


    Q: ช่วยยกตัวอย่างบริษัทที่เอานามบัตรดิจิทัลไปใช้ ว่าได้ประโยชน์ทางไหนบ้างคะ

    A: ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดคือเรื่องข้อมูลอย่างที่ได้พูดไป แต่ถ้าจะยกตัวอย่างเป็นบริษัทก็ TOA ที่ขายสีให้ธุรกิจก่อสร้างครับ เขามีการเปลี่ยนพนักงานขายบ่อย ๆ หรือล่าสุดก็มีโรงแรมเครือหนึ่งที่ได้ประโยชน์จากเรื่อง Contactless ที่ทำให้ลูกค้าของโรงแรมสบายใจในการติดต่อ


การสแกนนามบัตรดิจิทัลสามารถทำได้ง่าย ๆ ครับ ใช้แอพอะไรก็ได้สแกน QR code เราก็เริ่มจากจุดง่าย ๆ นี่แหละ จากการที่เป็นผู้สแกนหรือมีคนสแกนนามบัตรเรา เท่ากับเราเริ่มสะสมข้อมูลลูกค้าไปเรื่อย ๆ วันละรายสองราย เดือนละ 50 ราย 100 ราย มันก็จะกลายเป็นฐานข้อมูลให้เราในวันข้างหน้า หากเกิดวิกฤติอะไรขึ้นอีกก็จะนำมาใช้ได้ หรือถ้าเราอยากจะทำกิจกรรมหรือโปรโมชั่นอะไรเราก็แจ้งบอกลูกค้าได้ด้วย


นี่คือการสร้างทรัพย์สินที่เป็นข้อมูลทั้งกับตัวเราและตัวองค์กร




บริษัท นายเน็ต จำกัด

47/17 ถนนเสนานิคม 1 แขวงลาดพร้าว

เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230


โทรศัพท์ 083-084-1771

อีเมล์ contact@9net.co.th

Copyright ® 2023 9net.co.th